ติดตามกฎระเบียบ

TBBPA - ความวุ่นวายครั้งใหม่?

Tetrabromobisphenol A หรือ TBBPA เป็นสารหน่วงการติดไฟชนิดหนึ่ง ที่กำลังได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ไม่เพียงเพราะความเป็นอันตรายของสารนี้ แต่เพราะ EU เริ่มเดินหน้าผลักดันกระบวนการทางกฎหมาย เพื่อเพิ่มสารนี้เข้าในบัญชีรายชื่อสารต้องห้ามตามระเบียบ RoHS 

... แม้จะเป็นสารหน่วงการติดไฟคล้ายๆ กับ PBDE แต่สารนี้ไม่เหมือน PBDE หากจัดการแบบวิธีเดิมๆ ที่คุ้นเคย อาจสร้างความปั่นป่วนครั้งใหม่ให้วงการอิเล็กทรอนิกส์ได้

TBBPA (CAS No. 79-94-7) เป็นสารหน่วงการติดไฟ ที่มีใช้ทั้งแบบ Reactive Flame Retardant (สารที่ใส่เข้าไปแล้วทำปฏิกิริยากับเนื้อวัสดุ และเมื่อ Cure ได้ที่ตามสูตรผสมแล้วจะได้สารเคมีชนิดใหม่ที่ไม่ใช่ TBBPA) และ แบบ Additive Flame Retardant ที่เป็นสารเติมแต่งที่ผสมในเนื้อวัสดุแบบไม่ทำปฏิกิริยา (คล้าย PBDE)

หากดูปริมาณการผลิตและการใช้งาน TBBPA ตลาดโลก พบว่า TBBPA ส่วนใหญ่ ถูกนำไปใช้ในงานแรก โดยมักใช้หน่วงการติดพลาสติกประเภท Thermosetting เช่น อีพอกซี  ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ทำแผ่นวงจรพิมพ์ (Printed Wired Board) และ Mold Resin สำหรับทำ IC ซึ่งในกรณีนี้ หาก Cure ได้สมบูรณ์ ก็จะไม่เหลือ TBBPA คงค้าง แต่หาก Cure ไม่สมบูรณ์ หรือมี TBBPA มากไป ก็อาจมี TBBPA เหลือคงค้างในเนื้อวัสดุได้

การใช้งาน TBBPA ที่ใช้มากรองลงมา ได้แก่การใช้ผสมเป็นสารหน่วงการติดไฟในพลาสติกกลุ่ม Thermoplastics เช่น ABS ซึ่งการใช้งานในกลุ่มนี้จะคล้ายกับ PBDE คือเป็นการใส่แบบเป็น Additive ใส่ไปเท่าไร ก็จะอยู่ในเนื้อพลาสติกเท่านั้น ไม่หายไปไหน (อาจมีสลายตัวไปบ้าง)  เมื่อมีการ Ban PBDE ผู้ผลิตบางส่วนได้หันมาใช้ TBBPA แทน แต่ไม่ทั้งหมด เนื่องจาก TBBPA เข้ากันได้กับพลาสติกบางกลุ่มเท่านั้น ไม่เหมือน PBDE ที่เข้าได้กับพลาสติกหลากหลายชนิด

การจัดการซาก?

ปัญหาที่จะตามต่อมา จะเป็นเรื่องของการจัดการซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และการรีไซเคิลพลาสติกกลุ่ม Hi-end (เช่น ABS) ที่มักได้ราคาดีกว่าพลาสติกทั่วๆ ไป - หาก TBBPA ถูก ฺBan พลาสติกที่มี TBBPA ในตัวก็คงจะหาตลาด (ดีๆ) ที่ยอมรับซื้อเพื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าใหม่ได้ยาก แล้วพลาสติกเหล่านี้ ที่จะไปไหน?

-ThaiRoHS-

Tags: ,
© 2023 ThaiRoHS.org. All Rights Reserved.