กฏหมายน่ารู้

ELV

End-of-Life Vehicles (ELV) Directive
สหภาพยุโรป
18-09-2000
01-07-2003

วางมาตรการเพื่อลดของเสียจากยานยนต์ โดยบังคับให้มีการบำบัดซากยานยนต์อย่างถูกวิธีและให้นำชิ้นส่วน/ วัสดุกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้ตามสัดส่วนที่กำหนด และเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางสิ่งแวดล้อมในทุกธุรกิจในวัฏจักรชีวิตของยานยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บำบัดซากยานยนต์

  • รถพิกัดM1: รถยนต์นั่งส่วนบุคคล, 4 ล้อขึ้นไป, ไม่เกิน8 ที่นั่ง (ไม่รวมที่นั่งคนขับ)
  • รถพิกัดN1:4 ล้อขึ้นไป ใช้บรรทุกสัมภาระ น้ำหนักไม่เกิน3.5 ตัน
  • รถสามล้อเครื่อง ( ไม่รวมจักรยานยนต์สามล้อ)– คุมเฉพาะCollection & Treatment
  • รถที่ใช้ในกิจการพิเศษ( เช่น รถพยาบาล รถดับเพลิง รถคาราวาน)– ไม่คุมเรื่องการรีไซเคิล
  1. ห้ามใช้โลหะหนัก4 ชนิด ตั้งแต่1/7/03 (Pb, Hg, Cr(VI) ไม่เกิน 1,000ppm โดยน้ำหนักวัสดุเนื้อเดียว, Cd ไม่เกิน 100ppm โดยน้ำหนักวัสดุเนื้อเดียว
    • มีข้อยกเว้นการสารต้องห้ามในบางงาน - กำหนดใน Annex
  2. ผู้ผลิตต้องเป็นผู้ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดการซาก+ ทำ3R ให้ได้ตามเป้า
    • 1/1/2006-1/1/2015: Reuse/Recycle > 80%, Reuse/Recovery > 85%
    • หลัง1/1/2015: Reuse/Recycle > 85%, Reuse/Recovery > 95%
  3. ทำเครื่องหมายบนชิ้นส่วนเพื่อช่วยในการรีไซเคิล

หมายเหตุ: มีกฎหมายลูก (ระเบียบ Type Approval - กำหนดวิธีการประเมินและคำนวณค่าสัดส่วนการรีไซเคิลได้ และการประเมินและยืนยันการปลอดสารต้องห้าม)

  • ด้านการทำเครื่องหมายชิ้นส่วน:
    • ชิ้นส่วนพลาสติก - ทำเครื่องหมายตาม ISO 1043 และ ISO 11469
    • ชิ้นส่วนยางและ Elastomer (ยกเว้นยางรถยนต์) - ทำเครื่องหมายตาม ISO 1629
  • ด้านการรีไซเคิลได้: ปฏิบัติตามข้อกำหนดในระเบียบ Type Approval ปี 2005 (Directive 2005/64/EC)
  • ด้านการปลอดสารต้องห้าม: จัดระบบประกันความสอดคล้อง & จัดการสายโซ่การผลิต ตามที่กำหนดในระเบียบ Type Approval ปี 2009 (Commision Directive 2009/1/EC)

ระเบียบ ELV มีข้อยกเว้นสำหรับการใช้งานสารต้องห้ามบางชนิด ในงานบางงานที่ยังไม่สามารถเลิกใช้สารต้องห้ามนั้นๆ ได้

ข้อยกเว้นจะถูกประกาศใน Annex II ซึ่งจะมีการปรับปรุงเป็นระยะๆ (ฉบับปัจจุบัน (ปี 2020) เป็นการแก้ไขครั้งที่ 11)

  1. ข้อยกเว้นฉบับแก้ไขครั้งที่ 11 (Commission Delegated Directive (EU) 2020/362 of 17 December 2019)
  2. ข้อยกเว้นฉบับแก้ไขครั้งที่ 9 (Commission Delegated Directive (EU) 2020/363 of 17 December 2019)
  3. ข้อยกเว้นฉบับแก้ไขครั้งที่ 8 (Commission Directive 2017/2096/EC of 15 November 2017)
  4. ข้อยกเว้นฉบับแก้ไขครั้งที่ 7 (Commission Directive 20016/774/EU of 18 May 2016)
  5. ข้อยกเว้นฉบับแก้ไขครั้งที่ 6 (Commission Directive 2013/28/EU of 17 May 2013)
  6. ข้อยกเว้นฉบับแก้ไขครั้งที่ 5 (Commission Directive 2011/37/EU of 30 March 2011)
  7. ข้อยกเว้นฉบับแก้ไขครั้งที่ 4 (Commission Decision 2010/115/EU of 23 February 2010)
  8. ข้อยกเว้นฉบับแก้ไขครั้งที่ 3 (Commission Decision 2008/689/EC of 1 August 2008 )
  9. ข้อยกเว้นฉบับแก้ไขครั้งที่ 2 (Council Decision 2005/673/EC of 20 September 2005)
  10. ข้อยกเว้นฉบับแก้ไขครั้งที่ 1 (Commission Decision 2002/525/EC of 27 June 2002)
Located in: Regulation
© 2023 ThaiRoHS.org. All Rights Reserved.