กฏหมายน่ารู้

WFD

Waste Framework Directive
สหภาพยุโรป
30-05-2018
05-07-2020
  • เพื่อวางมาตการเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยมนุษย์ โดย
    1. การป้องกัน หรือลดผลเสีย จากการก่อและการจัดการขยะ และ
    2. การลดผลกระทบโดยรวม จากการใช้ทรัพยากร และการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร
  • วางกรอบ ข้อกำหนดในการจัดการขยะ และให้คำจำกัดความของคำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะในสหภาพยุโรป

วัตถุประสงค์ของการแก้ไขกฎหมายในปี 2018:

  • เพื่อปรับปรุงและเปลี่ยนไปสู่การจัดการวัสดุอย่างยั่งยืน
  • เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและทำให้ขยะเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า
  • เพื่อกรอบและวางกลไกเพื่อผลักดันการจัดการวัสดุไปสู่ Circular Economy
  • เพื่อปรับเกณฑ์การประเมิน ขยะและสัดส่วนการรีไซเคิล ฯลฯ ในแต่ละประเทศให้สอดคล้องกัน (และสามารถนำไปสู่การรายงานผลการดำเนินการตาม SDG ได้อย่างอัตโนมัติ)

WFD ครอบคลุมการจัดการของเสียทุกชนิดตลอดวัฐจักรชีวิตของวัสดุ/ผลิตภัณฑ์ แต่ไม่รวม

  • การปลดปล่อยอากาศเสีย/ไอเสีย
  • ดินและอาคาร
  • ขยะกัมมันตรังสี
  • ระเบิดที่ปลดชนวนแล้ว
  • กากอุจจาระ

WFD ไม่ครอบคลุมของเสียต่อไปนี้ เนื่องจากมีกฎหมายอื่นควบคุมอยู่แล้ว

  • น้ำเสีย
  • ผลิตผลพลอยได้จากสัตว์ (Animal by-products) ยกเว้นส่วนที่จะส่งไปเผา ฝังกลบ หรือใช้ในโรงผลิต Biogas หรือปุ๋ยหมัก
  • ซากสัตว์ ที่ไม่ได้มาจากโรงฆ่าสัตว์  (Regulation (EC) No 1774/2002)
  • ของเสียจากการทำเหมือง (Directive 2006/21/EC)
  • ของเหลือ (เศษอาหาร) ที่นำไปใช้เป็นอาหารสัตว์

WFD ถือเป็น "กฏหมายแม่" ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการซากผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ อาทิ WEEE, RoHS, ELV, Battery, Packaging wastes

WFD ฉบับแรกจัดลำดับความสำคัญในการจัดการขยะตามลำดับดังนี้

  1. การป้องกัน (prevention)
  2. การเตรียมการเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำ (preparing for re-use)
  3. การรีไซเคิล (recycling)
  4. การคืนทรัพยากรด้วยวิธีอื่น (other recovery, เช่น การคืนพลังงาน (energy recovery)) และ
  5. การทิ้ง (disposal)

WFD ฉบับปรับปรุงในปี 2018 (DIRECTIVE (EU) 2018/851)

SCIP  WFD 2018 มีข้อกำหนดให้ ECHA ต้องจัดระบบฐานข้อมูลรองรับการ สำแดงข้อมูล SVHC ตามมาตรา 33 ของ REACH และบังคับให้ผู้ผลิต ต้องรายงานข้อมูลเข้าในฐานข้อมูล SCIP ภายใน 5 มกราคม 2021 
Preparing for re-use and recycling

WFD 2018 กำหนดให้ประเทศสมาชิก ต้องจัดการขยะในประเทศ เพื่อบรรลุเป้าหมายการนำทรัพยากรกลับคืนดังนี้

  • ภายในปี 2025: เพิ่มการเตรียมการเพื่อใช้ซ้ำและรีไซเคิลเป็น 55% โดยน้ำหนัก
  • ภายในปี 2030: เพิ่มการเตรียมการเพื่อใช้ซ้ำและรีไซเคิลเป็น 60% โดยน้ำหนัก
  • ภายในปี 2035: เพิ่มการเตรียมการเพื่อใช้ซ้ำและรีไซเคิลเป็น 65% โดยน้ำหนัก

หมายเหตุ:

WFD2018 เพิ่มคำจำกัดความ "Material recovery" หมายถึง กระบวนการใดๆ ที่นำไปสู่การนำทรัพยากรกลับคืน ที่ไม่ใช่การคืนพลังงานหรือการเตรียมวัสดุเพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงหรืออื่นๆ เพื่อผลิตพลังงาน การนำทรัพยากรกลับคืน ให้หมายรวมถึงการเตรียมการเพื่อใช้ซ้ำ รีไซเคิล และถมที่ (ฺbackfilling)

-

Located in: Regulation
© 2023 ThaiRoHS.org. All Rights Reserved.